Custom Search

วันอังคารที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553

พระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียง



ถ้าสามารถที่จะเปลี่ยนให้กลับเป็น เศรษฐกิจแบบพอเพียง
ไม่ต้องทั้งหมดแม้จะไม่ถึงครึ่ง อาจจะเศษหนึ่งส่วนสี่ ก็จะสามารถที่จะอยู่ได้
การแก้ไขจะต้องการ แก้ไขจะต้องใช้เวลา ไม่ใช่ง่าย ๆ
โดยมากคนก็ใจร้อนเพราะเดือดร้อนแต่ว่า ถ้า
ทำตั้งแตเดี๋ยวนี้ก็จะสามารถที่จะแก้ไขได้



การจะเป็นเสือนั้นมันไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เราพออยู่ พอกิน
และมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินหมายความว่า
อุ้มชูตัวเองได้ให้มีพอเพียงกับตัวเอง



อันนี้เคยบอกว่า ความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่าทุกครอบครัวจะต้อง
ผลิตอาหารของตัวจะ ต้องทอผ้าใส่ให้ตัวเองสำหรับครอบครัวอย่างนั้นมันเกินไป
แต่ว่าในหมู่ บ้านหรือในอำเภอ จะต้องมีความพอเพียงพอสมควร บางสิ่ง บางอย่างที่ผลิตได้
มากกว่า ความต้องการก็ขายได้แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไร ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก

"His Majesty King Rama 9.
If able to change to become Sufficient economy.
Although not all less than half May be one fourth. Will be able to stay.
The changes are needed. They need time, not simple.
The most impatient of them as trouble, but if
Do it now since it can be solved.


Becoming a Tiger, it does not matter. Important is that enough is enough, we eat
And the economy as a have enough. Have enough means for that.
To take care of themselves sufficient to myself.


This was told that Sufficiency does not mean that every family will need.
Of the food will Weaving to put himself in the family for it too.
But among home or in the district. Must be sufficient enough that something should be produced.
It needs more sales, but sales in the remote does not. Without much cost transportation.

วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

"พด.7"


หมอดินเปิดตัว "พด.7" กำจัดศัตรูพืช ปราบเพลี้ย-หนอนอยู่หมัด เตรียมปั๊มแจกสกัดระบาด

เมื่อวันที่ 9 กันยายน 52


นายฉลอง เทพวิทักษ์กิจ รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เปิดเผยว่า สถานการณ์การระบาดของเพลี้ยแป้งและแมลงศัตรูพืชช่วงนี้มีแนวโน้มความรุนแรง มากขึ้น กรมพัฒนาที่ดินจึงได้พัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ สารเร่งซุปเปอร์ พด.7 ขึ้นมา เพื่อใช้สำหรับควบคุมและป้องกันแมลงศัตรูพืช โดยนำมาใช้ร่วมกับพืชสมุนไพรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการออกฤทธิ์ป้องกันแมลง ศัตรูพืชได้ดียิ่งขึ้น

โดยสารเร่งซุปเปอร์ พด.7 ประกอบด้วยจุลินทรีย์ 3 ประเภท ได้แก่ ยีสต์สายพันธุ์ใหม่ที่มีประสิทธิภาพในการผลิตแอลกอฮอล์มากกว่าเดิม ทำหน้าที่ผลิตแอลกอฮอล์เพื่อใช้ในการสกัดสารออกฤทธิ์จากพืชสมุนไพร แบคทีเรียผลิตกรดแลคติค ป้องกันการปนเปื้อนจากจุลินทรีย์ภายนอก ทำให้ผลิตภัณฑ์เก็บไว้ได้นานขึ้น ส่วนแบคทีเรียผลิตกรดอะซีติค ทำหน้าที่ผลิตกรดน้ำส้มช่วยในการสกัดสารออกฤทธิ์

กรมฯ ได้ทำการศึกษาทดลองนำพืชสมุนไพรชนิดต่างๆ มาหมักกับสารเร่งซุปเปอร์ พด.7 พบว่า มีพืชสมุนไพร 5 ชนิดมีผลในการกำจัดเพลี้ยแป้ง ได้แก่ หางไหล ดีปลี ยาสูบ พริก กระเทียม โดยน้ำหมักจากยาสูบให้ผลในการป้องกันเพลี้ยแป้งได้ดีที่สุด คือพบเปอร์เซ็นต์การตายของเพลี้ยแป้งสูงถึง 100% นอกจากนี้ ยังพบพืชสมุนไพรที่สามารถใช้ควบคุมป้องกันหนอนกระทู้ผักได้อีก 5 ชนิด ได้แก่ ว่านน้ำ เมล็ดมันแกว สะเดา หนอนตายหยาก หางไหล โดยน้ำหมักจากว่านน้ำทำให้หนอนตายได้มากที่สุดถึง 40% ซึ่งจากการทดลองพบว่าน้ำหมักพืชสมุนไพรทำให้หนอนตายได้ตั้งแต่ระยะตัวอ่อน ซึ่งเป็นระยะที่เข้าทำลายผลผลิตพืชมากที่สุด เนื่องจากไม่สามารถลอกคราบเพื่อเจริญเติบโตได้ ส่วนหนอนที่ยังมีชีวิตจะไม่สามารถเข้าดักแด้ก็จะตาย บางส่วนที่เข้าดักแด้ได้จะมีลักษณะของดักแด้ที่ไม่สมบูรณ์ไม่สามารถแตกออก เป็นตัวเต็มวัยได้

นายฉลอง กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมได้ทำการศึกษาทดลองผลสารเร่งซุปเปอร์ พด.7 มากว่า 2 ปีแล้ว ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ดังนั้น กรมเตรียมที่จะเผยแพร่แจกจ่ายให้เกษตรกรนำไปทดลองใช้ได้ทันที

ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันที่ 9 กันยายน 2552
http://www.naewna.com/news.asp?ID=177991

9 สิ่งมหัศจรรย์ เทคโนโลยีชีวภาพของกรมพัฒนาที่ดิน

9 สิ่งมหัศจรรย์ เทคโนโลยีชีวภาพของกรมพัฒนาที่ดิน

วาระแห่งการใช้ปุ๋ยแห่งชาติ
9 สิ่งมหัศจรรย์ เทคโนโลยีชีวภาพของกรมพัฒนาที่ดิน
สนับสนุนนโยบายอาหารปลอดภัยของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ปัญหาการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมของประเทศไทยอย่างไม่ถูกต้องทำให้เกิด ความเสื่อมโทรมของดินปรากฏขึ้นในทุกภาคของประเทศไทย จึงมีที่ดินเสื่อมโทรมมากถึง 98.7 ล้านไร่ หรือประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่เพาะปลูก ประกอบกับกระแสโลกที่มีการพัฒนาการเกษตรกรรมเคมีที่มุ่งเน้นด้านการแข่งขัน เป็นหลัก มิได้คำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อผู้บริโภค สังคม และสิ่งแวดล้อม การใช้ปุ๋ยเคมีเป็นจำนวนมากเพื่อเพิ่มธาตุอาหารให้กับดินในการเพิ่มผลผลิต และคุณภาพของพืช การใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชและศัตรูพืช ผลจากการทำเกษตรกรรมเคมีดังกล่าวได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อดิน น้ำ อากาศ สิ่งแวดล้อม ตลอดจนสิ่งมีชีวิตต่างๆอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ปี 2547 รัฐบาลจึงได้กำหนดให้เป็นปีแห่งความปลอดภัยด้านอาหาร มีการรณรงค์เพื่อให้ตระหนักถึงพิษภัยของสารเคมีที่ใช้ทางการเกษตร ที่ได้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชีวิตมนุษย์ โดยการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเกษตรเคมีเป็นเทคโนโลยีชีวภาพมากขึ้น
กรมพัฒนาที่ดิน เป็นหน่วยงานหนึ่งในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่มีภารกิจการจัดการดินในด้านการ เกษตรเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงและคุ้มทุนอย่างยั่งยืน และมีนโยบายทำการเกษตรแบบปลอดภัยและรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ศึกษาวิจัยการใช้เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร “9 สิ่งมหัศจรรย์ของกรมพัฒนาที่ดิน” เพื่อนำไปส่งเสริมเผยแพร่ให้เกษตรกรดังนี้
พืชปุ๋ยสด เป็นพืชตระกูลถั่ว สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดินและเป็นประโยชน์ ต่อพืช โดยทำการปลูกเพื่อไถกลบในช่วงระยะเวลาออกดอก และทิ้งไว้ให้ย่อยสลายในดิน จึงสามารถปลูกพืชเศรษฐกิจได้ต่อไป พืชตระกูลถั่วที่เหมาะสมสำหรับเป็นพืชปุ๋ยสด เช่น โสนอัฟริกัน ปอเทือง
หญ้าแฝก พืชมหัศจรรย์ในการอนุรักษ์ดินและน้ำเป็นพืชที่เจริญเติบโตด้วยการแตกกอ มีระบบรากยาวหยั่งลึก สามารถเก็บกักน้ำและความชื้นได้ดี นำมาใช้ประโยชน์ในด้านอนุรักษ์ดินและน้ำ การฟื้นฟูทรัพยากรดิน และรักษาสภาพแวดล้อม
ปุ๋ยหมัก สูตร พด.1 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายเศษพืชเพื่อผลิตเป็นปุ๋ย หมักสำหรับใช้ปรับปรุงบำรุงดินและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน
ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ สูตร พด.2 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการย่อยสลายเศษพืช ปลาและหอยเชอรี่ในลักษณะสดเพื่อผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์น้ำสำหรับในการเร่งการ เจริญเติบโตของราก ใบ ลำต้น การออกดอกและติดผล
จุลินทรีย์ป้องกันโรครากและโคนเน่าของพืช สูตร พด.3 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อเชื้อสาเหตุโรครากและโคนเน่าของพืช เศรษฐกิจ เช่น ส้ม ทุเรียน สับปะรด ยางพารา พืชไร่ พืชผักและไม้ดอก นอกจากนี้ยังสามารถปลดปล่อยธาตุอาหารในดินให้เป็นประโยชน์ต่อพืช ซึ่งเป็นการป้องกันการเข้าทำลายของโรคพืชและต้นพืชมีความแข็งแรง
สารปรับปรุงบำรุงดิน สูตร พด.4 เป็นสารปรับปรุงบำรุงดินที่ได้จากการผสมวัสดุธรรมชาติ ใช้ในการปรับปรุงสมบัติของดินให้เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกทุกชนิด และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมี
สารกำจัดวัชพืช สูตร พด.5 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการผลิตกรดและฮอร์โมนสูงใช้ในการกำจัด วัชพืชโดยใช้ในอัตราเข้มข้นสูงทำการฉีดพ่นลงบนวัชพืชและทำการไถกลบ เพื่อการเตรียมดิน ช่วยลดการใช้สารเคมีและเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม
สารบำบัดน้ำเสียและขจัดกลิ่นเหม็น สูตร พด.6 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการสกัดสารที่เป็นประโยชน์จากพืช สมุนไพรชนิดต่างๆ เพื่อใช้ในการนำไปฉีดพ่นต้นพืชเป็นการป้องกันหรือไล่แมลงศัตรูพืชไม่ให้เข้า มาทำลายพืชที่เพาะปลูกได้
สารป้องกันแมลงศัตรูพืช สูตร พด.7 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการสกัดสารที่เป็นประโยชน์จากพืช สมุนไพรชนิดต่างๆ เพื่อนำไปใช้ในการฉีดพ่นต้นพืชเป็นการป้องกันหรือไล่แมลงศัตรูพืชไม่ให้เข้า มาทำลายพืชที่ปลูกได้

จาก 9 สิ่งมหัศจรรย์เทคโนโลยีชีวภาพของกรมพัฒนาที่ดินสู่การพัฒนาส่งเสริมและขยาย ผลเพื่อเพิ่มผลผลิต10%ลดต้นทุน10%ลดการใช้สารเคมี50%ให้กับเกษตรกร 2 ล้านครอบครัวในปี 2547 ผ่านเครือข่ายหมอดินอาสา อบต. นักเรียน เช่น การปลูกแฝกในพื้นที่การเกษตร การปลูกพืชปุ๋ยสดเพื่อไถกลบเป็นปุ๋ยบำรุงดิน การใช้สารเร่ง พด.1 พด.3 และ พด.3 สำหรับเพิ่มคุณภาพและผลผลิตน้ำยางพารา การใช้สารเร่ง พด.1 พด.2 และ พด.3 สำหรับเพิ่มคุณภาพและผลผลิตเห็ดฟาง การเปลี่ยนขยะให้เป็นทองโดยใช้สารเร่ง พด.6 เพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำจากขยะสดบ้านเรือน
กรมพัฒนาที่ดินได้ดำเนินการนำปัจจัยการผลิตไปใช้ในการส่งเสริมเกษตรกรใน พื้นที่เพาะปลูก เพื่อให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมในการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตพืชเพิ่ม ขึ้น เกษตรกรมีรายได้สูงขึ้นและเศรษฐกิจดีขึ้น ดังนั้นกรมพัฒนาที่ดินจึงให้ความสำคัญ 9 ชนิดนี้และให้ชื่อว่า “9 สิ่งมหัศจรรย์” โดยนำมาใช้บูรณาการร่วมกับระบบการปลูกพืชเพื่อให้ได้ผลผลิตทางการเกษตรที่ ปลอดภัยและเป็นแนวทางในการทำระบบเกษตรอินทรีย์ต่อไป

การต่อเชื้อจุลินทรีย์ในผลิตภัณฑ์สารเร่งของกรมพัฒนาที่ดิน
1. การขยายเชื้อจุลินทรีย์ในสารเร่ง พด.1 ทำปุ๋ยหมัก
นำรำหยาบ 5 กิโลกรัม ผสมกับมูลสัตว์ 5 กิโลกรัม ใส่ลงในประสอบปุ๋ยหรือถุงพลาสติกคลุกเคล้าให้เข้ากัน จากนั้นละลายสารเร่ง พด.1 ในน้ำ และนำไปผสมคลุกเคล้ากับส่วนผสมวัสดุ โดยให้มีความชื้นประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ รัดปากถุงไว้ ตั้งทิ้งไว้บนพื้นซีเมนต์ หลบแดดและฝนเป็นเวลา 7 วัน จะได้เชื้อจุลินทรีย์ย่อยสลายเศษพืชเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก จากนั้นนำไปผึ่งให้แห้งในที่ร่ม จึงเก็บไว้เป็นต้นต่อเชื้อในการทำปุ๋ยหมักต่อไป โดยใช้เชื้อที่ขยายได้จำนวน 200 กรัม ต่อการหมักวัสดุเศษพืช 1 ตัน
2. การขยายเชื้อจุลินทรีย์ในสารเร่ง พด.2 พด.2 พด.6 และ พด.7 เพื่อผลิตสารชีวภาพ
นำสารเร่งจุลินทรีย์ 1 ซอง ผสมกับกากนำตาล 2 ลิตร และน้ำ 5 ลิตร ใส่ลงในถังพลาสติกผสมให้เข้ากันแล้วปิดฝา หมักไว้เป็นเวลา 7 วัน เชื้อจะเจริญเติบโตเต็มที่ จากนั้นนำเชื้อที่ขยายได้ผสมกับรำหยาบหรือปุ๋ยหมัก 5 กิโลกรัม เพื่อลดความชื้น และผึ่งให้แห้งในที่ร่มและเก็บไว้ในถุงพลาสติกสำหรับเป็นต้นตอเชื้อในการ ผลิตสารชีวภาพต่อไป โดยใช้เชื้อที่ขยายได้จำนวน 100 กรัม ต่อการผลิตสารชีวภาพ 50 ลิตร
3. การขยายเชื้อจุลินทรีย์ในสารเร่ง พด.3 ควบคุมโรครากและโคนเน่าของพืช
นำรำหยาบหรือมูลสัตว์ 2 กิโลกรัม ผสมกับรำข้าว 2 กิโลกรัม ใส่ลงในกระสอบปุ๋ยหรือถุงพลาสติกคลุกเคล้าให้เข้ากัน จากนั้นละลายสารเร่ง พด.3 ในน้ำ แล้วนำไปผสมคลุกเคล้ากับส่วนผสมวัสดุ โดยให้มีความชื้นประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ รัดปากถุงไว้ ตั้งไว้บนพื้นซีเมนต์ หลบแดดและฝนเป็นเวลา 7 วันจะได้เชื้อจุลินทรีย์ควบคุมโรคพืชเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก จากนั้นนำไปผึ่งให้แห้งในที่ร่ม จึงเก็บไว้สำหรับเป็นต้นตอเชื้อในการเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ควบคุมโรคพืชต่อ ไป โดยใช้เชื้อที่ขยายได้จำนวน 100 กรัม ต่อการขยายเชื้อในปุ๋ยหมัก 100 กิโลกรัม

“ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการเกษตรของกรมพัฒนาที่ดิน ช่วยเพิ่มคุณภาพดิน ผลผลิตพืช รักษาสิ่งแวดล้อม สนับสนุนวาระแห่งชาติปุ๋ยชีวภาพ และนโยบายอาหารปลอดภัย”
ที่มา : http://www.kasetcity.com

วันอังคารที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ความหมายของคำว่า"พอเพียง"

ความหมาย : เศรษฐกิจพอเพียง หรือ ระบบเศรษฐกิจที่พึ่งตนเองได้
- เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง ความสามารถของชุมชนเมือง รัฐ ประเทศ หรือภูมิภาคหนึ่ง ๆ ในการผลิตสินค้าและบริการทุกชนิดเพื่อเลี้ยงสังคมนั้น ๆ ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยต่างๆ ที่เราไม่ได้เป็นเจ้าของ และเกินความจำเป็น
- เศรษฐกิจพอเพียงในระดับบุคคลนั้น คือ ความสามารถในการดำรงชีวิตได้อย่างไม่เดือดร้อน มีความเป็นอยู่อย่างประมาณตน ตามฐานะ ตามอัตภาพ และที่สำคัญไม่หลงใหลไปตามกระแสของวัตถุนิยม มีอิสรภาพ เสรีภาพ ไม่พันธนาการอยู่กับสิ่งใด
- หากกล่าวโดยสรุป คือ หันกลับมายึดเส้นทางสายกลาง ในการดำรงชีวิต