Custom Search

วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

9 สิ่งมหัศจรรย์ เทคโนโลยีชีวภาพของกรมพัฒนาที่ดิน

9 สิ่งมหัศจรรย์ เทคโนโลยีชีวภาพของกรมพัฒนาที่ดิน

วาระแห่งการใช้ปุ๋ยแห่งชาติ
9 สิ่งมหัศจรรย์ เทคโนโลยีชีวภาพของกรมพัฒนาที่ดิน
สนับสนุนนโยบายอาหารปลอดภัยของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ปัญหาการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมของประเทศไทยอย่างไม่ถูกต้องทำให้เกิด ความเสื่อมโทรมของดินปรากฏขึ้นในทุกภาคของประเทศไทย จึงมีที่ดินเสื่อมโทรมมากถึง 98.7 ล้านไร่ หรือประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่เพาะปลูก ประกอบกับกระแสโลกที่มีการพัฒนาการเกษตรกรรมเคมีที่มุ่งเน้นด้านการแข่งขัน เป็นหลัก มิได้คำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อผู้บริโภค สังคม และสิ่งแวดล้อม การใช้ปุ๋ยเคมีเป็นจำนวนมากเพื่อเพิ่มธาตุอาหารให้กับดินในการเพิ่มผลผลิต และคุณภาพของพืช การใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชและศัตรูพืช ผลจากการทำเกษตรกรรมเคมีดังกล่าวได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อดิน น้ำ อากาศ สิ่งแวดล้อม ตลอดจนสิ่งมีชีวิตต่างๆอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ปี 2547 รัฐบาลจึงได้กำหนดให้เป็นปีแห่งความปลอดภัยด้านอาหาร มีการรณรงค์เพื่อให้ตระหนักถึงพิษภัยของสารเคมีที่ใช้ทางการเกษตร ที่ได้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชีวิตมนุษย์ โดยการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเกษตรเคมีเป็นเทคโนโลยีชีวภาพมากขึ้น
กรมพัฒนาที่ดิน เป็นหน่วยงานหนึ่งในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่มีภารกิจการจัดการดินในด้านการ เกษตรเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงและคุ้มทุนอย่างยั่งยืน และมีนโยบายทำการเกษตรแบบปลอดภัยและรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ศึกษาวิจัยการใช้เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร “9 สิ่งมหัศจรรย์ของกรมพัฒนาที่ดิน” เพื่อนำไปส่งเสริมเผยแพร่ให้เกษตรกรดังนี้
พืชปุ๋ยสด เป็นพืชตระกูลถั่ว สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดินและเป็นประโยชน์ ต่อพืช โดยทำการปลูกเพื่อไถกลบในช่วงระยะเวลาออกดอก และทิ้งไว้ให้ย่อยสลายในดิน จึงสามารถปลูกพืชเศรษฐกิจได้ต่อไป พืชตระกูลถั่วที่เหมาะสมสำหรับเป็นพืชปุ๋ยสด เช่น โสนอัฟริกัน ปอเทือง
หญ้าแฝก พืชมหัศจรรย์ในการอนุรักษ์ดินและน้ำเป็นพืชที่เจริญเติบโตด้วยการแตกกอ มีระบบรากยาวหยั่งลึก สามารถเก็บกักน้ำและความชื้นได้ดี นำมาใช้ประโยชน์ในด้านอนุรักษ์ดินและน้ำ การฟื้นฟูทรัพยากรดิน และรักษาสภาพแวดล้อม
ปุ๋ยหมัก สูตร พด.1 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายเศษพืชเพื่อผลิตเป็นปุ๋ย หมักสำหรับใช้ปรับปรุงบำรุงดินและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน
ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ สูตร พด.2 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการย่อยสลายเศษพืช ปลาและหอยเชอรี่ในลักษณะสดเพื่อผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์น้ำสำหรับในการเร่งการ เจริญเติบโตของราก ใบ ลำต้น การออกดอกและติดผล
จุลินทรีย์ป้องกันโรครากและโคนเน่าของพืช สูตร พด.3 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อเชื้อสาเหตุโรครากและโคนเน่าของพืช เศรษฐกิจ เช่น ส้ม ทุเรียน สับปะรด ยางพารา พืชไร่ พืชผักและไม้ดอก นอกจากนี้ยังสามารถปลดปล่อยธาตุอาหารในดินให้เป็นประโยชน์ต่อพืช ซึ่งเป็นการป้องกันการเข้าทำลายของโรคพืชและต้นพืชมีความแข็งแรง
สารปรับปรุงบำรุงดิน สูตร พด.4 เป็นสารปรับปรุงบำรุงดินที่ได้จากการผสมวัสดุธรรมชาติ ใช้ในการปรับปรุงสมบัติของดินให้เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกทุกชนิด และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมี
สารกำจัดวัชพืช สูตร พด.5 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการผลิตกรดและฮอร์โมนสูงใช้ในการกำจัด วัชพืชโดยใช้ในอัตราเข้มข้นสูงทำการฉีดพ่นลงบนวัชพืชและทำการไถกลบ เพื่อการเตรียมดิน ช่วยลดการใช้สารเคมีและเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม
สารบำบัดน้ำเสียและขจัดกลิ่นเหม็น สูตร พด.6 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการสกัดสารที่เป็นประโยชน์จากพืช สมุนไพรชนิดต่างๆ เพื่อใช้ในการนำไปฉีดพ่นต้นพืชเป็นการป้องกันหรือไล่แมลงศัตรูพืชไม่ให้เข้า มาทำลายพืชที่เพาะปลูกได้
สารป้องกันแมลงศัตรูพืช สูตร พด.7 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการสกัดสารที่เป็นประโยชน์จากพืช สมุนไพรชนิดต่างๆ เพื่อนำไปใช้ในการฉีดพ่นต้นพืชเป็นการป้องกันหรือไล่แมลงศัตรูพืชไม่ให้เข้า มาทำลายพืชที่ปลูกได้

จาก 9 สิ่งมหัศจรรย์เทคโนโลยีชีวภาพของกรมพัฒนาที่ดินสู่การพัฒนาส่งเสริมและขยาย ผลเพื่อเพิ่มผลผลิต10%ลดต้นทุน10%ลดการใช้สารเคมี50%ให้กับเกษตรกร 2 ล้านครอบครัวในปี 2547 ผ่านเครือข่ายหมอดินอาสา อบต. นักเรียน เช่น การปลูกแฝกในพื้นที่การเกษตร การปลูกพืชปุ๋ยสดเพื่อไถกลบเป็นปุ๋ยบำรุงดิน การใช้สารเร่ง พด.1 พด.3 และ พด.3 สำหรับเพิ่มคุณภาพและผลผลิตน้ำยางพารา การใช้สารเร่ง พด.1 พด.2 และ พด.3 สำหรับเพิ่มคุณภาพและผลผลิตเห็ดฟาง การเปลี่ยนขยะให้เป็นทองโดยใช้สารเร่ง พด.6 เพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำจากขยะสดบ้านเรือน
กรมพัฒนาที่ดินได้ดำเนินการนำปัจจัยการผลิตไปใช้ในการส่งเสริมเกษตรกรใน พื้นที่เพาะปลูก เพื่อให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมในการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตพืชเพิ่ม ขึ้น เกษตรกรมีรายได้สูงขึ้นและเศรษฐกิจดีขึ้น ดังนั้นกรมพัฒนาที่ดินจึงให้ความสำคัญ 9 ชนิดนี้และให้ชื่อว่า “9 สิ่งมหัศจรรย์” โดยนำมาใช้บูรณาการร่วมกับระบบการปลูกพืชเพื่อให้ได้ผลผลิตทางการเกษตรที่ ปลอดภัยและเป็นแนวทางในการทำระบบเกษตรอินทรีย์ต่อไป

การต่อเชื้อจุลินทรีย์ในผลิตภัณฑ์สารเร่งของกรมพัฒนาที่ดิน
1. การขยายเชื้อจุลินทรีย์ในสารเร่ง พด.1 ทำปุ๋ยหมัก
นำรำหยาบ 5 กิโลกรัม ผสมกับมูลสัตว์ 5 กิโลกรัม ใส่ลงในประสอบปุ๋ยหรือถุงพลาสติกคลุกเคล้าให้เข้ากัน จากนั้นละลายสารเร่ง พด.1 ในน้ำ และนำไปผสมคลุกเคล้ากับส่วนผสมวัสดุ โดยให้มีความชื้นประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ รัดปากถุงไว้ ตั้งทิ้งไว้บนพื้นซีเมนต์ หลบแดดและฝนเป็นเวลา 7 วัน จะได้เชื้อจุลินทรีย์ย่อยสลายเศษพืชเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก จากนั้นนำไปผึ่งให้แห้งในที่ร่ม จึงเก็บไว้เป็นต้นต่อเชื้อในการทำปุ๋ยหมักต่อไป โดยใช้เชื้อที่ขยายได้จำนวน 200 กรัม ต่อการหมักวัสดุเศษพืช 1 ตัน
2. การขยายเชื้อจุลินทรีย์ในสารเร่ง พด.2 พด.2 พด.6 และ พด.7 เพื่อผลิตสารชีวภาพ
นำสารเร่งจุลินทรีย์ 1 ซอง ผสมกับกากนำตาล 2 ลิตร และน้ำ 5 ลิตร ใส่ลงในถังพลาสติกผสมให้เข้ากันแล้วปิดฝา หมักไว้เป็นเวลา 7 วัน เชื้อจะเจริญเติบโตเต็มที่ จากนั้นนำเชื้อที่ขยายได้ผสมกับรำหยาบหรือปุ๋ยหมัก 5 กิโลกรัม เพื่อลดความชื้น และผึ่งให้แห้งในที่ร่มและเก็บไว้ในถุงพลาสติกสำหรับเป็นต้นตอเชื้อในการ ผลิตสารชีวภาพต่อไป โดยใช้เชื้อที่ขยายได้จำนวน 100 กรัม ต่อการผลิตสารชีวภาพ 50 ลิตร
3. การขยายเชื้อจุลินทรีย์ในสารเร่ง พด.3 ควบคุมโรครากและโคนเน่าของพืช
นำรำหยาบหรือมูลสัตว์ 2 กิโลกรัม ผสมกับรำข้าว 2 กิโลกรัม ใส่ลงในกระสอบปุ๋ยหรือถุงพลาสติกคลุกเคล้าให้เข้ากัน จากนั้นละลายสารเร่ง พด.3 ในน้ำ แล้วนำไปผสมคลุกเคล้ากับส่วนผสมวัสดุ โดยให้มีความชื้นประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ รัดปากถุงไว้ ตั้งไว้บนพื้นซีเมนต์ หลบแดดและฝนเป็นเวลา 7 วันจะได้เชื้อจุลินทรีย์ควบคุมโรคพืชเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก จากนั้นนำไปผึ่งให้แห้งในที่ร่ม จึงเก็บไว้สำหรับเป็นต้นตอเชื้อในการเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ควบคุมโรคพืชต่อ ไป โดยใช้เชื้อที่ขยายได้จำนวน 100 กรัม ต่อการขยายเชื้อในปุ๋ยหมัก 100 กิโลกรัม

“ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการเกษตรของกรมพัฒนาที่ดิน ช่วยเพิ่มคุณภาพดิน ผลผลิตพืช รักษาสิ่งแวดล้อม สนับสนุนวาระแห่งชาติปุ๋ยชีวภาพ และนโยบายอาหารปลอดภัย”
ที่มา : http://www.kasetcity.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น